แนวทางการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ


          แนวทางการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ
  1. กำหนดให้มีและบังคับใช้มาตรฐานคุณภาพอากาศ พร้อมทั้งทําการสํารวจและ ตรวจสอบคุณภาพอากาศตามแหล่งต่างๆ เป็นประจํา
  2. ลดปริมาณมลพิษทางอากาศจากแหล่งกำเนิด ทำได้โดยการเปลี่ยนชนิดของเชื้อเพลิงที่ใช้ การปรับปรุงกระบวนการผลิต การลดมลพิษจากยานพาหนะ เป็นต้น
  3. พยายามทําให้เกิดความเจือจางของอากาศประจําท้องถิ่น เพื่อควบคุมคุณภาพของอากาศ โดยอากาศที่ห่อหุ้มอยู่นั้นรับสิ่งปฏิกูลต่างๆ ที่ปล่อยออกสู่อากาศได้โดยไม่ทําให้อากาศสกปรก หรือเป็นอันตราย ควบคุมการใช้ประโยชน์ของที่ดิน ควบคุมที่ตั้งแหล่งอุตสาหกรรม และควบคุมระบบการขนส่งไม่ให้ปล่อยสิ่งปฏิกูลออกมาในอากาศ
  4. ลดปริมาณและชนิดของปฏิกูล ที่เกิดขึ้นจากการสันดาปในเตาเผาและเครื่องยนต์ ได้แก่ ควบคุมไอเสียจากท่อไอเสียของรถยนต์ เป็นต้น
  5. ป้องกันและกําจัดสิ่งปฏิกูล โดยใช้วัสดุหรือวิธีการอื่นแทน เพื่อไม่ให้เกิดสารพิษที่เป็น อันตรายขึ้น เช่นกําจัดปริมาณซัลเฟอร์ของน้ำมันและถ่านหินที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงซึ่งก่อให้ เกิดความสกปรกของอากาศ
  6. ใช้มาตรการทางกฎหมายเพื่อควบคุมมลพิษทางอากาศตาม พระราชบัญญัติสิ่งแวดล้อม พ.ศ.๒๕๓๕ และ พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.๒๕๓๕ เช่น ประกาศเรื่อง มาตรฐานการระบายมลพิษ ประกาศเรื่องมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศ เป็นต้น
  7. เผยแพร่ความรู้แก่ผู้ประกอบการและประชาชนได้รับทราบและเข้าใจ เกี่ยวกับความสำคัญของอากาศบริสุทธิ์และอันตรายที่เกิดจากมลพิษทางอากาศ รวมถึงให้ทราบระเบียบ กฎเกณฑ์ มาตรฐานต่างๆ ที่ทางราชการกำหนดขึ้นเพื่อควบคุมมลพิษทางอากาศและเพื่อให้ประชาชนปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง
  8. การจัดและแยกปฏิกูลออกมาจากอากาศเสีย ก่อนที่จะปล่อยออกมาสู่อากาศบริสุทธิ์ภายนอก เช่น โดยการเผาไหม้
  9. ช่วยกันปลูกต้นไม้ ดูแลรักษาต้นไม้ ซึ่งจะช่วยกรองอากาศเสียให้เป็นอากาศดีได้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น