แนวทางการแก้ไขปัญหามลพิษทางน้ำ


          ๑.) การควบคุมการปล่อยน้ำทิ้งลงในแหล่งน้ำ น้ำทิ้งจากแหล่งต่างๆ ควรจัดการให้มีระบบบําบัดน้ำเสีย ตัวอย่างเช่น ระบบบําบัดน้ำเสียของสหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จํากัด ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นการกําจัดการเน่าเสียระบบบําบัดทางชีวภาพแบบใช้อากาศหรือแบบบ่อเปิด

แผนภาพแสดงระบบบําบัดน้ำเสียของสหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จํากัด

          ๒.) การกําจัดความเน่าเสียโดยธรรมชาติ โดยปกติปฏิกูลที่ทิ้งลงในน้ำจะถูกจุลินทรีย์กําจัดอยู่แล้วโดยธรรมชาติ น้ำในแม่น้ำลําคลองที่มีปริมาณสารอินทรีย์มากเกินไปจะทําให้เกิดสภาวะที่ไม่เหมาะต่อการดํารงชีวิตของสิ่งมีชีวิตในน้ำ ซึ่งธรรมชาติจะมีกระบวนการกําจัดเพื่อช่วยลดสารอินทรีย์ให้มีจํานวนคงที่และเหมาะแก่สิ่งมีชีวิต ในกระบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์โดยใช้ออกซิเจนช่วยนี้ จุลินทรีย์ที่มีอยู่มากมายในน้ำจะทําการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำ ให้กลายเป็นแก๊ส คาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ ทั้งมนุษย์และสัตว์หายใจออกมาก็มีแก๊สนี้ปะปนอยู่ พืชสีเขียวสามารถนําไปใช้สังเคราะห์แสงได้ ผลจากปฏิกิริยาการสังเคราะห์แสงทําให้ได้พลังงาน ซึ่งจุลินทรีย์จะนําไปใช้ในการดํารงชีวิตต่อไป
          วิธีแก้ไขหรือป้องกันมิให้น้ำเสียวิธีหนึ่งก็คือ ควบคุมจํานวนจุลินทรีย์ให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสม ไม่มากเกินไปจนเกิดการขาดแคลนออกซิเจน หรือไม่น้อยเกินไปจนย่อยสลายไม่ทัน รวมทั้งต้องควมคุมปริมาณออกซิเจนในน้ำให้มีพื้นที่ผิ วน้ำมากพอที่จะทําให้ออกซิเจนแทรกลงไปในน้ำได้สะดวก ซึ่งอาจช่วยได้ด้วยการทําให้อากาศในน้ำเกิดการหมุนเวียนตลอดเวลา นอกจากนี้อาจจะใช้วิธีการเลี้ยงปลา เช่นที่สหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จํากัด ในพระบรมราชูปถัมภ์ ใช้วิธี การเลี้ยงปลานิลในบ่อน้ำทิ้งที่ใช้ในการล้างทําความสะอาดอุปกรณ์และเครื่องจักรที่ปนเปื้อนนม ปลานิลจะกําจัดน้ำเสียโดยกินเศษนมที่ปนอยู่ในน้ำ เป็นต้น

          .) การทําให้เจือจาง หมายถึงการทําให้ของเสียเจือจางลงด้วยน้ำจํานวนมากเพียงพอ เพื่อลดปริมาณความสกปรก เช่น การระบายน้ำเสียลงในแม่น้ำลําคลอง ในการระบายนั้นจําเป็นต้องคํานึงถึงปริมาณความสกปรกที่แหล่งน้ำนั้นจะสามารถรับได้ด้วย ซึ่งปริมาณความสกปรกของน้ำที่แหล่งน้ำจะรับได้ขึ้นอยู่กับปริมาตรน้ำที่ใช้ในการเจือจาง หรือขึ้นอยู่กับอัตราการไหลของน้ำในแหล่งน้ำ วิธีนี้จําเป็นต้องใช้เนื้อที่กว้าง หรือปริมาตรมากจึงจะพอเพียงต่อการเจือจางความสกปรก โดยสากลถือว่าน้ำสะอาดควรมีค่า BOD ที่ ๒ มิลลิกรัมต่อลิตร ถ้าค่า BOD มากกว่า ๑๐๐ มิลลิกรัมต่อลิตร ถือว่าน้ำนั้นมีโอกาสเน่าเสียได้ ส่วนน้ำทิ้ง ควรมีค่าสาร แขวนลอย ๓๐ มิลลิกรัมต่อลิตร และค่า BOD ๒๐ มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งเมื่อถูกเจือจางด้วยน้ำสะอาดจากแม่น้ำ ๘ เท่าแล้ว จะมีค่า BOD ไม่เกิน ๔ มิลลิกรัมต่อลิตร น้ำในลักษณะดังกล่าวถือว่าไม่มีความเน่าเสียแล้ว

          ๔.) ช่วยกันลดปริมาณการใช้น้ำ และลดปริมาณขยะในบ้านเรือน

          ๕.) ลดหรือหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี  เช่นปุ๋ย  สารกำจัดศัตรูพืชในกิจกรรมทางเกษตร หรือสารเคมีที่ใช้ในบ้านเรือน

          ๖.) การทําให้กลับคืนสู่สภาพเดิม และการนํากลับมาใช้อีก เป็นวิธีทําให้น้ำทิ้งกลับคืนมาเป็นผลพลอยได้ และนํามาใช์ประโยชน์ได้อีก หลักการนี้มีผลดีต่อโรงงานอุตสาหกรรมโดยตรง ในการลดปริมาณของเสียที่ปล่อยจากโรงงาน โดยช่วยลดค่าใช้จ่ายในการกําจัดของเสีย และประหยัดค่าใช้จ่ายในการผลิต เนื่องจากนําสิ่งที่ใช้แล้วมาใช้ได้อีก การนําเอาน้ำที่ใช้แล้ว กลับมาใช้ในกิจการอื่นอีก ไม่จําเป็นต้องใช้น้ำที่มีความสะอาดมากนัก ดังนั้นในปัจจุบัน วิธีการนี้จึงเป็นที่นิยมกันมาก
ระบบ Grey water เป็นการนำน้ำจาการชำระล้างมาใช้ซ้ำในกิจการอื่น (Re-use)
          ๗.) ทำการสำรวจเพื่อลดปริมาณน้ำเสียของแต่ละขั้นตอนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม

          .) การกักเก็บของเสียไว้ระยะหนึ่งก่อนปล่อย หรือกักเก็บไว้เพื่อปล่อยออกทีละน้อยโดยสม่ำเสมอ ทั้งนี้เพื่อให้เวลาของเสียเปลี่ยนแปลงสลายตัวไปเองตามธรรมชาติ

          .) การถ่ายเทของเสียจากที่แห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่ง เพื่อเปลี่ยนแปลงแหล่งรับของเสียใหม่ ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการทิ้งของเสียจํานวนมากเกินไปลงสู่แหล่งรับของเสียเดิมจนทําให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นอีก

          ๑๐.) ในกรณีที่น้ำเน่าเสียแล้ว ห้ามทิ้งสิ่งปฏิกูลลงในแหล่งน้ำอีก ทั้งนี้เพื่อให้เวลากับแหล่งน้ำกลับคืนสู่สภาพปกติตามธรรมชาติ แต่ถ้าการกลับคืนสู่สภาพเดิมช้าเกินไป สามารถเร่งได้ด้วยการเพิ่มออกซิเจนเพื่อให้แบคทีเรียทํางานได้ดีขึ้น โดยกระทําดังนี้
  • ทําให้ลอยตัว โดยใช์โฟลตติง แอเรเตอร์ (Floating aerator) หลายๆ ตัวเติมออกซิเจน เป็นระยะๆ ตลอดลําน้ำที่เน่าเสีย วิธีนี้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูง จึงนิยมใช้กับปากแม่น้ำที่ติด ทะเล ซึ่งมีการเน่าเสียร้ายแรงกว่าบริเวณอื่นๆ
Floating Aerator (เครื่องเติมอากาศแบบทุ่นลอย)
  • ใช้เรือแล่น เพื่อให้เกิดฝอยน้ำและคลื่นเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้แก่ลําน้ำบริเวณที่เสีย
  • เพิ่มปริมาณน้ำ และอัตราการไหลของน้ำ ให้ไหลพัดพาน้ำส่วนที่เน่าเสียลงในทะเลให้หมดโดยใช้ฝนเทียมช่วย

          ๑๑.) สร้างจิตสำนึกของประชาชน ให้ตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาคุณภาพแหล่งน้ำ และประหยัดการใช้น้ำ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น