หลักเกณฑ์การวัดคุณภาพของน้ำ


            ในน้ำปกติทั่วไปจะมีปริมาณ O2 ละลายอยู่ปริมาณ ๘ มิลลิกรัมต่อลิตร (ppm.) เรานิยมเรียกปริมาณ O2 ที่ละลายในน้ำนี้ว่า ค่า DO ถ้าวัดค่า DO ได้ต่ำกว่า ๓ ppm. ก็จะถือว่าเป็นน้ำเสีย
สำหรับค่าความเป็นกรดด่าง หรือ pH นั้น องค์การอนามัยโลกได้กำหนดว่าควรมีค่าอยู่ที่ ๕-๙  จึงจะเหมาะกับการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำ ถ้ามีค่ามากหรือน้อยกว่านั้นอาจเกิดอันตรายต่อสัตว์และพืชน้ำได้
           นอกจากนี้สามารถวัดได้ด้วยค่า BOD หรือปริมาณของออกซิเจนที่จุลินทรีย์ต้องการใช้ในการย่อยสลายอินทรียสารในน้ำ (Biochemical Oxygen Demand) สามารถใช้เป็นตัวบอกคุณภาพน้ำได้ เพราะในน้ำจะมีอินทรียสารอยู่ ซึ่งการย่อยสลายอินทรียสารของจุลินทรีย์ต้องใช้ออกซิเจน ถ้าในแหล่งน้ำนั้นมีค่า BOD สูงหรือมีอินทรียสารมาก ปริมาณออกซิเจนในน้ำจะลดน้อยลง แบคทีเรียแอโรบิกก็จะลดน้อยลงด้วย อินทรียสาร จะถูกสลายด้วยแบคทีเรียแอนาโรบิกและแบคทีเรียแฟคัลเตตีฟต่อไป ซึ่งจะทําให้ก๊าซต่าง ๆ เช่น มีเทน ไฮโดรเจนซัลไฟด์ แอมโมเนีย ก๊าซเหล่านี้เองที่ทําให้เกิดกลิ่นเหม็นและสีของน้ำเปลี่ยนไป นอกจากสารอินทรีย์แล้ว ตามแหล่งชุมชนยังมีผงซักฟอกซึ่งเป็นตัวลดความตึงผิวของน้ำ ซึ่งหมุนเวียนไปสู่คนได้ทางโซ่อาหาร โดยทั่วไปถ้าในแหล่งน้ำใดมีค่า BOD สูงกว่า ๑๐๐ มิลลิกรัม / ลิตร (ppm.) จัดว่าน้ำนั้นเป็นน้ำเสีย

ตัวชี้วัดที่แนะนำ ในการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำ
          การติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำ จำเป็นที่ต้องมีการกำหนดตัวชี้วัด (พารามิเตอร์) ในการติดตามตรวจสอบโดยควรเลือกตัวชี้วัดที่มีความสำคัญหรือบ่งชี้ถึงคุณภาพน้ำได้ รวมทั้งยังต้องคำนึงถึงศักยภาพ งบประมาณ บุคลากร และสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น โดยจะนำเสนอวิธีตรวจวัดคุณภาพน้ำที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน สามารถตรวจวัดทันที เพื่อใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้วิธีการที่แนะนำตามตัวชี้วัดที่สำคัญ มีดังนี้

ตัวชี้วัด
วิธีการตรวจวัดที่แนะนำ
ลักษณะทางกายภาพ เช่น สี กลิ่น
สังเกต
แบคทีเรียกลุ่มฟีคอลโคลิฟอร์ม
ชุดทดสอบ ว.๑๑๑ ของกรมอนามัย
ความขุ่น/ความโปร่งแสง
Secchi Disc
อุณหภูมิ
เทอร์โมมิเตอร์แบบกระเปาะ
ความเป็นกรด-ด่าง
กระดาษลิตมัส (วิธีเปรียบเทียบสี)
ความนำไฟฟ้า/สารที่ละลายได้ทั้งหมด
Electrical Conductivity
ความเค็ม
Hydrometer
ออกซิเจนละลาย
ชุดทดสอบออกซิเจนละลาย (ว.๓๑๒) ของกรมอนามัย
ฟอสฟอรัส
ชุดทดสอบ (Test Kits) (วิธีเปรียบเทียบสี)
ไนเตรท
ชุดทดสอบ (Test Kits) (วิธีเปรียบเทียบสี)
โลหะหนัก
ชุดทดสอบ (Test Kits) (วิธีเปรียบเทียบสี)

การติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำโดยการสังเกตสีของน้ำ
          สีของน้ำจะบ่งชี้ถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดสี หรือบอกถึงสิ่งที่ละลายอยู่ในน้ำได้ การประเมินสีอาจทำได้โดยการเปรียบเทียบสีกับสีมาตรฐาน หรือการใช้ความรู้สึกของผู้สำรวจแต่ควรเป็นความเห็นที่มาจากหลายๆ คน


การตรวจวัดและการแปรผล

          สังเกตสีของน้ำจากแหล่งน้ำโดยตรง หรือตักน้ำขึ้นมาอย่างน้อย ๒ ลิตร โดยตักลึกลงไปประมาณครึ่งหนึ่งของความลึก นำขึ้นมาใส่ขวดแก้วใสแล้วจึงสังเกตสี โดยสีที่เกิดขึ้นของน้ำเป็นตัวชี้ให้เห็นถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดสีได้อย่างคร่าวๆ ดังแสดงในตารางด้านล่าง อย่างไรก็ตามถึง แม้ว่าน้ำจะใสไม่มีสี ก็ไม่อาจรับรองได้ว่าแหล่งน้ำนั้นมีคุณภาพดีไม่มีการปนเปื้อนเลย ควรจะมีการติดตามตรวจสอบต่อไป

สีปรากฏ
สาเหตุที่ทำให้เกิดสี
ไม่มีสี
ยังไม่ควรสรุปว่าน้ำสะอาดเพราะอาจมีสิ่งเจือปนอยู่
สีเขียว
แพลงค์ตอนพืช
สีเหลืองหรือสีน้ำตาลหรือสีชาใส
มีซากพืชย่อยสลาย
สีแดงหรือสีเหลืองหรือ สีมะฮอกกานี
เป็นสีของสาหร่ายอีกจำพวกหนึ่ง (Dinoflagellates)
สีน้ำตาลขุ่นหรือสีแดง
มีตะกอนดินเจือปน อาจเกิดจากการกัดเซาะหน้าดิน หรือชายฝั่ง
สีรุ้ง
มีคราบน้ำมันที่ผิวหน้า
สีเทาหรือสีดำ
น้ำเน่าจากสิ่งปฏิกูล หรืออาจมีแร่ธาตุจากธรรมชาติเจือปน

การติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำ โดยการสังเกตกลิ่นของน้ำ
          กลิ่นของน้ำจะบ่งบอกถึงสาเหตุมลพิษของลำน้ำนั้นได้เช่นน้ำที่ได้รับการปนเปื้อนจากน้ำเสียชุมชนก็จะมีกลิ่นเหม็นก๊าซไข่เน่า เป็นต้น รวมทั้งระดับที่ได้กลิ่นก็บอกได้ว่า คุณภาพน้ำมีการปนเปื้อนของมลพิษมากหรือน้อยอย่างคร่าวๆ ได้

การตรวจวัดและการแปรผล
          สังเกตกลิ่นของน้ำจากแหล่งน้ำโดยตรง โดยไปยืนริมน้ำแล้วสูดหายใจดมกลิ่น หรือตักน้ำขึ้นมาอย่างน้อย ๒ ลิตร ควรตักลงไปลึกประมาณครึ่งหนึ่งของความลึกใส่ขวดแก้วใสแล้วจึงดมกลิ่นโดยใช้มือโบกกลิ่นให้โชยเข้าจมูก กลิ่นของน้ำจะบ่งบอกถึงสาเหตุมลพิษของลำน้ำนั้นได้อย่างคร่าวๆ ดังแสดงในตารางด้านล่าง อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ไม่ได้กลิ่นก็ไม่อาจสรุปได้ว่าแหล่งน้ำนั้นมีคุณภาพดี ไม่มีการปนเปื้อนเสียทีเดียวเลย และควรจะมีการติดตามตรวจสอบต่อไป


ประเภทของกลิ่น
ที่มาของกลิ่น
๑. กลิ่นหอม
กลิ่นผลไม้ กลิ่นกระเทียม กลิ่นแตงกวา กลิ่นน้ำหอม กลิ่นยาต่างๆ
๒. กลิ่นต้นไม้
กลิ่นสาหร่าย กลิ่นหญ้า กลิ่นต้นไม้ กลิ่นแพลงค์ตอนต่างๆ
๓. กลิ่นดินและเชื้อรา
กลิ่นดิน กลิ่นโคลน กลิ่นเชื้อราต่างๆ
๔. กลิ่นคาว
กลิ่นคาวปลา กลิ่นน้ำมันตับปลา กลิ่นหอยต่างๆ (Dinoflagellates)
๕. กลิ่นยา
กลิ่นฟีนอล กลิ่นน้ำมันทาร์ กลิ่นน้ำมัน กลิ่นไขมัน กลิ่นพาราฟิน กลิ่นคลอรีน กลิ่นไฮโดรเจนซัลไซด์กลิ่นคลอโรฟีนอลหรือกลิ่นผลิตภัณฑ์ยาต่างๆ ดิน หรือชายฝั่ง
๖. กลิ่นเน่า
กลิ่นของสดเน่า กลิ่นขยะ กลิ่นน้ำทิ้ง กลิ่นคอกหมู กลิ่นมูลสัตว์ต่างๆ

การตรวจวัดคุณภาพน้ำทางชีวภาพ           การตรวจวัดคุณภาพน้ำนอกจากจะใช้ตัวชี้วัดทางกายภาพ เคมี และแบคทีเรียในการวิเคราะห์คุณภาพน้ำแล้ว ยังสามารถใช้สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำนั้น เช่น แพลงค์ตอนพืช แพลงค์ตอนสัตว์ สาหร่ายขนาดใหญ่ สัตว์หน้าดิน พืชน้ำ และปลา เป็นต้น เป็นตัวชี้วัดคุณภาพน้ำร่วมได้อีกทางหนึ่ง

สัตว์หน้าดิน
          เนื่องจากสัตว์หน้าดินมีความหลากหลายและแพร่กระจายในบริเวณกว้าง สามารถเคลื่อนที่ได้น้อย และไวต่อการถูกรบกวน ดังนั้นจึงได้รับผลกระทบโดยตรงจากมลพิษ และแม้เวลาผ่านไปก็ยังตรวจสอบผลกระทบที่มีต่อแหล่งน้ำบริเวณนั้นๆ ได้ เนื่องจากสัตว์หน้าดินสามารถฟื้นตัวได้ช้า นอกจากนี้แล้วยังมีความสำคัญในห่วงโซ่อาหาร เนื่องจากเป็นผู้ผลิตหรือผู้บริโภคในระดับต้นๆ จึงมีผลต่อความชุกชุมของผู้บริโภค
ในระดับที่สูงขึ้น ดังนั้นชนิดและจำนวนของสัตว์หน้าดิน จึงสามารถนำมาใช้เป็นดัชนีชี้วัดคุณภาพแหล่งน้ำได้   สามารถแบ่งชนิดของสัตว์หน้าดินที่พบกับคุณภาพน้ำได้ ระดับ คือ

          ๑. คุณภาพน้ำดีมาก สัตว์ที่พบมากสุดได้แก่ตัวอ่อนแมลงชีปะขาวและตัวอ่อนแมลงเกาะหิน
          ๒. คุณภาพน้ำดี สัตว์ที่พบมากสุด ได้แก่ ตัวอ่อนแมลงหนอนปลอกน้ำ
          ๓. คุณภาพน้ำปานกลาง สัตว์ที่พบมากสุด ได้แก่ ตัวอ่อนแมลงปอ กุ้งและปูน้ำจืด
          ๔. คุณภาพน้ำไม่ดี สัตว์ที่พบมากสุด ได้แก่ หนอนแดง ไส้เดือนน้ำจืด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น