สาเหตุและผลกระทบของมลพิษทางน้ำ

          สาเหตุของมลพิษทางน้ำ แยกได้เป็นที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และที่เกิดจากฝีมือมนุษย์ ดังนี้

๑. เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แหล่งน้ำต่างๆ อาจเกิดจากการเน่าเสียได้เองเมื่ออยู่ในภาวะที่ขาดออกซิเจน ส่วนใหญ่มีสาเหตุเกิดจากการเพิ่มจํานวนอย่างรวดเร็วของแพลงค์ตอน แล้วตายลงพร้อมๆ กัน เมื่อจุลินทรีย์ทําการย่อยสลายซากแพลงค์ตอนทําให์ออกซิเจนในน้ำถูกนําไปใช้มาก จนเกิดการขาดแคลนได้ นอกจากนี้ การเน่าเสียอาจเกิดได้อีกประการหนึ่งคือเมื่อน้ำอยู่ในสภาพนิ่งไม่มีการหมุนเวียนถ่ายเท

ปรากฏการณ์ Red Tide (ขี้ปลาวาฬ) ซึ่งเกิดจากการเติบโตอย่างรวดเร็วของแพลงก์ตอนพืช
ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศชายฝั่ง อาจทำให้ตัวอ่อนสัตว์ทะเลหลายชนิดตายเป็นจำนวนมาก

๒. เกิดจากมนุษย์ แบ่งออกได้ตามแหล่งที่มา ดังนี้

          ๒.๑) น้ำทิ้งและสิ่งปฏิกูลจากแหล่งชุมชน ได้แก่ อาคาร บ้านเรือน สํานักงาน อาคารพาณิชย์ โรงแรม เป็นต้น ส่วนใหญ่มาจากการซักล้าง จะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่ฐานะและอุปนิสัยของผู้คน โดยน้ำที่เกิดจากการซักล้างมักมีผงซักฟอกปนอยู่มาก ซึ่งในผงซักฟอกมีสารฟอสเฟตเป็นส่วนผสมอยู่ สารนี้สามารถแทรกซึมเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนังได้ ถ้ามีการสะสมเป็นปริมาณมากก็เกิดอันตรายได้เช่นกัน 


          ๒.๒) จากการเกษตรกรรม ได้แก่น้ำเสียที่เกิดจากกิจกรรมทางการเพาะปลูกและการเลี้ยงสัตว์ โดยน้ำเสียจากการเกษตร ได้แก่ การใช้ปุ๋ยไนเตรตของเกษตรกร จะมีไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม และสารพิษต่างๆ ในปริมาณสูง เมื่อปุ๋ยลงสู่แหล่งน้ำจะทําให้น้ำมีปริมาณเกลือไนเตรตสูงถ้าดื่มเข้าไปจะทําให้เป็นโรคพิษไนเตรต ไนเตรตจะเปลี่ยนเป็นไนไตรต์แล้วรวมตัวกับฮีโมโกลบินอาจทําให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ นอกจากนี้ในปัจจุบัน เกษตรกรยังนิยมใช้สารกําจัดศัตรูพืชมากขึ้น สารที่ตกค้างตามต้นพืช และตามผิวดิน จะถูกชะล้างไปกับน้ำฝนและไหลลงสู่แหล่งน้ำ ส่วนน้ำเสียจากการเลี้ยงสัตว์ เช่น เศษอาหารและน้ำทิ้งจากการชําระคอกสัตว์ จะพบสิ่งสกปรกในรูปของสารอินทรีย์เป็นส่วนมาก เมื่อทิ้งลงสู่แม่น้ำ ลําคลอง ก็จะก่อให้เกิดโรคระบาด


          ๒.๓) จากโรงงานอุตสาหกรรม ได้แก่ น้ำเสียที่เกิดจากกระบวนการอุตสาหกรรม ตั้งแต่ขั้นตอนการล้างวัตถุดิบ กระบวนการผลิต จนถึงการทำความสะอาดโรงงาน รวมทั้งน้ำเสียที่ยังไม่ได้รับการบำบัดหรือน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้ว แต่ยังไม่เป็นไปตามมาตรฐานน้ำทิ้งอุตสาหกรรม ของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม เช่น โรงงานปลาป่น โรงงาน ผลิตภัณฑ์นม โรงโม่แป้ง โรงงานทําอาหารกระป๋อง ส่วนใหญ่มีสารอินทรีย์พวกโปรตีน คาร์โบไฮเดรตปนอยู่มาก สารอินทรีย์ที่ถูกปล่อยออกมากับน้ำทิ้งนี้ก็จะถูกย่อยสลาย ทําให้เกิดผลเช่นเดียวกับน้ำทิ้งที่ถูกปล่อยจากชุมชน นอกจากนี้อาจมีสารพิษชนิดอื่นปะปนอยู่ด้วย ขึ้นอยู่กับประเภท และขนาดของโรงงาน


          เราสามารถแยกประเภทอุตสาหกรรมที่ทำให้เกิดมลพิษทางน้ำได้ดังนี้
  • อุตสาหกรรมอาหาร น้ำทิ้งมักมีสารอินทรีย์สูงมากทำให้ O2 ในแหล่งน้ำน้อยลง 
  • อุตสาหกรรมเส้นใย ของเสียเกิดจากสารเจือปนที่มีอยู่ในเส้นใย
  • อุตสาหกรรมกระดาษ น้ำทิ้งของอุตสาหกรรมประเภทนี้มักส่งกลิ่นเหม็น สีที่ปล่อยลงสู่แหล่งน้ำจะสกัดกั้นการสังเคราะห์แสงของพืช
  • อุตสาหกรรมปิโตรเลียม น้ำทิ้งมีสารประเภทไฮโดรคาร์บอน และกรด
  • อุตสาหกรรมเคมี น้ำทิ้งจะเป็นพวกกรดและด่าง (เบส)
  • อุตสาหกรรมยางและพลาสติก น้ำทิ้งจะมีค่า BOD สูง
  • อุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น น้ำทิ้งจากโรงงานฟอกหนังมีฤทธิ์เป็นด่าง ๒.๔ การคมนาคมทางน้ำ ในการเดินเรือตามแหล่งน้ำ ลําคลอง ทะเล มหาสมุทร มีการทิ้งของเสียที่ประกอบด้วยสารอินทรีย์ และน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งถ้ามีโอกาสรั่วไหลลงน้ำได้และมีจํานวนมาก ก็จะทําให้สัตว์น้ำขาดออกซิเจน และเป็นผลเสียต่อระบบนิเวศ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น